วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552

การรับรู้และพัฒนาการด้านภาษาเขียนของเด็กก่อนวัยเรียน
ระยะแรก เป็นระยะที่เด็กเริ่มแยกแยะความแตกต่างระหว่างสัญลักษณ์ที่ใช้แทนอักษรและที่ไม่ใช่อักษร เขาจะใช้สัญลักษณ์ที่เขาคิดขึ้นมาเองแทนอักษร มีการจัดเรียงอักษรเป็นเส้นตรง บางครั้งจะเขียนโดยใช้ทิศทางคงที่ บางครั้งจะใช้ 1 สัญลักษณ์แทนคำ 1 คำ
ระยะที่สอง ลักษณะสำคัญคือ การเขียนตัวอักษรที่ต่างกันสำหรับคำพูดแต่ละคำพูด เด็กจะเริ่มแสดงความแตกต่างของข้อความแต่ละข้อความโดยการเขียนอักษรที่ต่างกัน โดยมีลำดับและจำนวนอักษรตามที่เขาคิดว่าเหมาะสม นั้นคือเด็กเริ่มรู้จักเขียนแสดงให้เห็นความแตกต่างของถ้อยคำ เช่น เด็กคนหนึ่งเขียนจดหมายถึงบิดาโดยใช้อักษรที่ใช้เขียนชื่อของเธอเท่านั้น
ระยะที่สามเป็นระยะที่เด็กเริ่มใช้ลักษณะการออกเสียงในขณะเขียนและการเขียนของเด็กเริ่มใกล้เคียงกับการเขียนตามแบบแผน ในที่สุดเด็กสามารถเข้าใจหลักการเขียนหนังสือในภาษาของตนเองได้เช่น เด็กเขียนอธิบายลักษณะบ้านแม่มด โดยเขียนคำว่า”บ้าน”ได้ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น: